วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

การได้มาซึ่งสัญชาติไทย

                                     การได้มาซึ่งสัญชาติไทย มีด้วยกัน 3 วิธี คือ
   1. โดยการเกิด หมายความว่า ผู้ที่เกิดมาย่อมได้รับสัญชาติไทยภายใต้หลักการพิจารณา 2 หลักการ ได้แก่
    1.1. หลักสืบสายโลหิต เช่น ผู้ที่เกิดโดยบิดา หรือมารดาเป็นคนไทยย่อมได้สัญชาติไทย ทั้งนี้ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักร
    1.2. หลักดินแดน เช่น ผู้ที่เกิดในประเทศไทยย่อมได้รับสัญชาติไทย เว้นแต่ผู้ที่เกิดในประเทศไทยโดยบิดา หรือมารดาเป็นคนต่างด้าวและในขณะที่เกิดบิดา หรือมาดาของผู้นั้นเป็น
       1.2.1. ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยกรณีพิเศษเฉพาะราย
       1.2.2. ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว
       1.2.3. ผู้ที่ได้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
       1.2.4. หัวหน้าคณะผู้แทนทางทูตหรือเจ้าหน้าที่ในคณะผู้แทนทางทูต
       1.2.5. หัวหน้าคณะผู้แทนทางกงสุลหรือเจ้าหน้าที่ในคณะผู้แทนทางกงสุล
       1.2.6. พนักงานหรือผู้เชี่ยวชาญขององค์การระหว่างประเทศ
       1.2.7. คนในครอบครัวซึ่งเป็นญาติอยู่ในความอุปการะหรือคนใช้ซึ่งเดินทางมาจากต่างประเทศมาอยู่กับบุคคลใน 1.2.4 ถึง 1.2.7
2. โดยการขอมีสัญชาติไทยตามผู้เป็นสามี คือ หญิงซึ่งมิใช่คนไทยที่สมรสกับชายไทย ถ้าประสงค์จะได้สัญชาติไทยก็สามารถยื่นคำขอต่อรัฐมนตรีมหาดไทยเพื่อขอมีสัญชาติไทย การอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ได้สัญชาติไทยนั้นอยู่ในดุลพินิจของรัฐมนตรีมหาดไทย
3. โดยการแปลงสัญชาติ หมายความว่า บุคคลที่มิใช่ผู้มีสัญชาติไทยขอมีสัญชาติไทยโดยการขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ถ้าหากมีคุณสมบัติครบถ้วนดังนี้
  3.1. บรรลุนิติภาวะแล้วตามกฎหมายไทยและกฎหมายที่บุคคลนั้นมีสัญชาติ
  3.2. มีความประพฤติดี
  3.3. มีอาชีพเป็นหลักฐาน
  3.4. มีภูมิลำเนาในประเทศไทยต่อเนื่องมาจนถึงวันที่ยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี
  3.5. มีความรู้ภาษาไทยตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้แปลงสัญชาติเป็นไทย อยู่ในดุลพินิจของรัฐมนตรีมหาดไทย เมื่อรัฐมนตรีเห็นสมควรก็ให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้วผู้ขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ปฎิญาณตนว่าจะมีความซื่อสัตย์สุจริตต่อประเทศไทย

                     การเสียสัญชาติไทย มีด้วยกัน 2 วิธี คือ
1. สละสัญชาติไทย คือ การที่ผู้มีสัญชาติไทยคนใดคนหนึ่งมีความประสงค์จะขอสละสัญชาติไทยในกรณีดังต่อไปนี้
1.1. หญิงซึ่งมีสัญชาติไทยและได้สมรสกับคนต่างด้าวและอาจถือสัญชาติของสามีได้จามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติของสามี ถ้าประสงค์จะสละสัญชาติไทยก็สามารถยื่นความจำนงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
1.2. ผู้เกิดมามีสองสัญชาติเมื่อมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์หากประสงค์จะสละสัญชาติไทยก็สามารถแสดงความจำนงสละสัญชาติไทยต่อรัฐมนตรีมหาดไทยได้ ในกรณีนี้รัฐมนตรีอาจสั่งระงับการสละสัญชาติไทยไว้ก่อนก็ได้หากว่าประเทศไทยอยู่ในระหว่างการรบหรืออยู่ในสถานะสงคราม
1.3. ผู้ที่ได้สัญชาติไทยโดยการแปลง หากประสงค์จะสละสัญชาติไทยก็สามารถยื่นคำขอต่อรัฐมนตรีมหาดไทย การอนุญาตหรือไม่อนุญาตอยู่ในดุลพินิจของรัฐมนตรี
2. ถูกถอนสัญชาติไทย คือ ผู้มีสัญชาติไทยถูกถอนสัญชาติไทยในกรณีดังต่อไปนี้
2.1. หญิงที่ได้สัญชาติไทยโดยการสมรสอาจถูกถอนสัญชาติไทยถ้าหากว่า
2.1.1. การสมรสนั้นเป็นไปโดยปกปิดข้อเท็จจริงหรือแสดงความเท็จอันเป็นสาระสำคัญ
2.1.2. กระทำการใดๆ อันเป็นการกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงหรือขัดต่อประโยชน์ของรัฐ หรือเป็นการเหยียดหยามประเทศชาติ
2.1.3. กระทำการใดๆ อันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศิลธรรมอันดีของประชาชน
2.2. ผู้มีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยโดยมีบิดาเป็นคนต่างด้าวอาจถูกถอนสัญชาติไทยถ้าหากว่า
2.2.1. ไปอยู่ต่างประเทศที่บิดาเคยมีหรือเคยมีสัญชาติเป็นเวลาติดต่อกันเกิน 5 ปี นับแต่วันที่บรรลุนิติภาวะ
2.2.2. มีหลักฐานแสดงว่าใช้สัญชาติของบิดาหรือสัญชาติอื่น หรือฝักใฝ่อยู่ในสัญชาติของบิดาหรือสัญชาติอื่น
2.2.3. กระทำการใดๆ อันเป็นการกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงหรือขัดต่อประโยชน์ของรัฐ หรือเป็นการเหยียดหยามประเทศชาติ
2.2.4. กระทำการใดๆ อันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศิลธรรมอันดีของประชาชน
2.3. ผู้ที่มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติถ้าหากว่า
2.3.1. การแปลงสัญชาตินั้นเป็นไปโดยปกปิดข้อเท็จจริงหรือแสดงข้อความเป็นเท็จอันเป็นสาระสำคัญ
2.3.2. มีหลักฐานแสดงว่าผู้แปลงสัญชาตินั้นยังใช้สัญชาติเดิม
2.3.3. กระทำการใดๆ อันเป็นการกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงหรือขัดต่อประโยชน์ของรัฐ หรือเป็นการเหยียดหยามประเทศชาติ
2.3.4. กระทำการใดๆ อันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน
2.3.5. ไปอยู่ต่างประเทศโดยไม่มีภูมิลำเนาในประเทศไทยเป็นเวลาเกิน 5 ปี
2.3.6. ยังคงมีสัญชาติของประเทศที่ทำสงครามกับประเทศไทย

                           การกลับคืนสัญชาติไทย มีด้วยกัน 2 กรณี คือ
1. หญิงซึ่งมีสัญชาติไทยและได้สละสัญชาติไทยในกรณีสมรสกับคนต่างด้าว ถ้าขาดจากการสมรสแล้วไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ ย่อมมีสิทธิขอกลับคืนสัญชาติไทยได้
2. ผู้ซึ่งมีสัญชาติไทยและได้เสียสัญชาติไทยตามบิดาหรือมารดาในขณะที่ตนยังไม่บรรลุนิติภาวะ ก็สามารถยื่นคำขอกลับคืนสัญชาติไทยได้ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่บรรลุนิติภาวะ การอนุญาตหรือไม่อนุญาตตามกรณีนี้อยู่ในดุลพินิจของรัฐมนตรีมหาดไทย

การบันดาลโทสะ

มาตรา ๗๒ แห่งประมวลกฎหมายอาญา "ผู้ใดบันดาลโทสะ โดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้"

ดังนั้นผู้ที่จะอ้างบันดาลโทสะได้ตามกฎหมาย จะต้อง
๑. มิใช่เป็นผู้ก่อให้เกิดเหตุแห่งการข่มเหงด้วย เพราะ ผู้ที่จะอ้างเหตุบรรเทาโทษได้ตามกฎหมาย จะต้องมิใช่เป็นต้นเหตุให้เกิดการข่มเหงนั้นด้วยครับ
ดังนั้นหากเราเดินไปตบหัวคนอื่นเล่น จนคนที่ถูกตบลุกขึ้นมาเอาไม้มาทุบเราบ้าง แต่เรากลับโกรธขึ้นมา จึงชักอาวุธปืนยิงไป ๑ นัด
จะเห็นได้ว่า เหตุที่ทำให้เราโกรธนั้น ก็เนื่องจากเราเอง เป็นผู้ก่อให้เกิดขึ้น
กรณีนี้ เราจึงไม่สามารถอ้างเหตุบันดาลโทสะ เนื่องจากถูกผู้ตายเอามาทุบได้ เพราะถือว่าเราเป็นผู้ก่อให้เกิดเหตุแห่งการข่มเหงนั้นเอง

๒. ผู้อ้างบันดาลโทสะ จะต้องบันดาลโทสะ เพราะตนเองถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม ถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม นั้น คือ การข่มเหงรังแกหรือรบกวนทำให้เดือดร้อนโดยไม่มีเหตุอันสมควรที่จะกระทำเช่นนั้น
ทั้งการข่มเหงนั้น เป็นเรื่องหรือมีลักษณะที่เรื่องที่ร้ายแรงโดยปราศจากเหตุผล และการข่มเหงนั้น ทำให้ผู้ก่อเหตุ เกิดโทสะหรือความโกรธจนไม่อาจยับยั้งได้
ซึ่งตรงนี้อย่างใด เป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิจารณาเป็นเรื่องๆไปครับ

๓. ผู้นั้นได้ลงมือกระทำผิด ต่อผู้ที่มาข่มเหงในขณะทันทีทันใด หรือกระชันชิดภายหลังถูกข่มเหง
ผู้ที่จะอ้างเหตุบันดาลโทสะได้ นั้นต้องทำร้าย ฆ่า หรือทำความผิดต่อผู้ที่มาข่มเหงภายหลังทันทีที่ถูกข่มเหง หรือภายหลังจากนั้น แต่ระยะเวลาต้องกระชั้นชิดด้วย
เพราะหากปล่อยทิ้งนานไป ศาลมักจะถือว่าเราน่าจะคลายความโกรธลงไปแล้ว เช่น นาย ก. เดินมา ชกหน้าเรากลางตลาด และพูดจาเย้ยดูถูกต่อหน้าผู้คน ถ้าเราชกนาย ก หรือยิงนาย ก ในตอนนั้นทันที เราสามาถอ้างบันดาลโทสะได้ครับ  แต่หากเราไม่ยิงหรือชกไป แต่กลับบ้านไปจนรุ่งเช้าจึงนำอาวุธปืนมายิง นอกจากจะอ้างบันดาลโทสะไม่ได้แล้วเพราะมิได้กระทำต่อผู้ที่มาข่มเหงในขณะนั้น ยังถือว่าเป็นการฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนด้วยซ้ำ



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๘๖/๒๕๔๖ ก่อนเกิดเหตุ ผู้ตายได้พูดจาดูถูกจำเลยก่อนในลักษณะที่จำเลยเหมือนของเล่นได้แล้วจะเลิก เมื่อไรก็ได้ และเป็นหญิงใจง่ายหลอกกินเงินได้ เมื่อจำเลยโกรธและใช้รองเท้าตบหน้าผู้ตาย ผู้ตายกลับตามไปทำร้ายจำเลยอีก จนจำเลยทนไม่ได้เดินไปที่ห้องพักนำมีดปอกผลไม้ยาวประมาณ ๑ ฟุตครึ่ง กลับมาใช้ปาดคอผู้ตาย ซึ่งเหตุการณ์ตั้งแต่ผู้ตายพูดจาดูถูกจำเลยแล้วจำเลยกลับไปบ้านพักนำมีดมา ปาดคอจนผู้ตายถึงแก่ความตายนั้น เป็นระยะเวลาที่สืบเนื่องเชื่อมโยงติดต่อกันมาโดยตลอดในขณะนั้นเองและเป็น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยังไม่ขาดตอน เนื่องจากห้องพักของจำเลยกับที่เกิดเหตุห่างกันไม่มากนัก เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยมีพฤติการณ์ตระเตรียมการหรือวางแผนฆ่าผู้ตายมาก่อนการ กระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน คงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๓๐๕/๒๕๔๓ จำเลยไปหาผู้ตายเพราะความเจ็บใจซึ่งเกิดมานานแล้ว เมื่อจำเลยเห็นผู้ตายก็ยิงผู้ตายทันที ในวันเกิดเหตุจำเลยเป็นฝ่ายลงมือก่อเหตุจะไปเผาบ้านที่ผู้ตายพักอาศัยอยู่ โดยเตรียมน้ำมันเบนซิน ไฟแช็ก ตลอดจนเตรียมยากำจัดหนูเพื่อจะฆ่าตัวตายพร้อมกับผู้ตาย บังเอิญเมื่อมาที่ห้องนอนผู้ตายพบอาวุธปืนจึงคิดจะใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและ ฆ่าตัวตายตาม มูลเหตุที่จูงใจให้กระทำผิด เกิดจากความเจ็บแค้นใจซึ่งมีอยู่เดิม กรณีมิใช่บันดาลโทสะโดยถูกข่มเหง อย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม

การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

ประมวลกฏหมายอาญา  มาตรา 68  ได้บัญญัติไว้ว่า "ผู้ใดจำต้องกระทำ
การใดเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่น  ให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจาก
การประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฏหมาย  และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง
ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ  การกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วย
กฏหมาย  ผู้นั้นไม่มีความผิด
"

อธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นว่า

1.  ต้องมีภัยอันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายที่ละเมิดต่อกฏหมาย

2.  และเป็นภัยอันตรายที่ใกล้จะถึงตัว  โดยภัยนั้นยังมีอยู่ไม่สิ้นสุดไป

3.  ผู้ป้องกันจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือผู้อื่นให้พ้นภัย

4.  และการกระทำป้องกันนั้นต้องพอสมควรแก่เหตุ  จึงทำให้ผู้ป้องกัน
ไม่มีความผิด

ยกตัวอย่าง เช่น
กรณีเป็นภัยอันตรายซึ่งเกิดจาการประทุษร้ายที่ละเมิดต่อกฏหมาย

>> เราเป็นเจ้าของบ้าน  มีสิทธิป้องกันไม่ให้ใครเข้ามารุกรานทำร้าย
แม้ว่าจะมีทางหนีได้  แต่ไม่มีความจำเป็นที่เจ้าของบ้านต้องหนีผู้ทำผิด
กฏหมาย  ถ้าผู้ร้ายถืออาวุธจะเข้ามาทำร้ายเราถึงบ้าน  เราสามารถกระทำ
ป้องกันชีวิตเราพอสมควรแก่เหตุได้

กรณีต้องเป็นภัยอันตรายที่ใกล้จะถึงตัว  โดยภัยนั้ยังมีอยู่  ไม่สิ้นสุดไป

>> เราเป็นหญิง  ถูกชายลากเข้าไปป่าข้างทางเพื่อข่มขืนและขู่ว่าจะฆ่า
เราจึงใช้มีดแทงหนึ่งทีแล้ววิ่งหนีออกมา  ฝ่ายผู้ร้ายจะพยายามแย่งมีดจากเรา
ทำให้เราแทงผู้ร้ายอีกหลายครั้งจนเป็นหตุถึงตาย  เช่นนี้ถือว่าภัยยังไม่หมดไป
เมื่อเป็นหญิงอยู่ในภาวะเช่นนั้น  จะเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ

กรณีผู้ป้องกันจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือผู้อื่นให้พ้นภัย

>> มีคนบุกรุกเข้ามาฉุดคร่าลูกสาวของเราถึงในบ้าน  และกำลังพาออกจาก
บ้านไป  การที่เรายิงผู้ร้ายนั้นเป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของลูกสาวให้
พ้นจากภัยอันตรายดังกล่าว  โดยเราไม่มีทางเลือกอื่นที่จะป้องกันได้  การยิง
ผู้ร้ายจึงเป็นการป้องกันที่ชอบด้วยกฏหมาย

กรณีเป็นการกระทำป้องกันที่พอสมควรแก่เหตุ

>> หากภัยที่มีมาอาจทำให้ถึงตาย  ก็สามารถตอบโต้ถึงตายได้  โดยไม่ต้อง
คำนึงว่าจะใช้อาวุธหรือวิธีการอย่างไร  แต่ถ้าภัยที่มีมาถึงเราเป็นเหตุไม่ร้ายแรง
การที่เราป้องกันถึงขนาดทำให้ผู้ร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บสาหัส 
ย่อมเป็นการ
กระทำที่เกินสมควรแก่เหตุ  เป็นความผิดที่ต้องรับโทษ  เพียงแต่ศาลอาจ
ลงโทษน้อยกว่าที่กฏหมายกำหนดไว้เพียงใดก็ได้

เหตุที่อ้างป้องกันโดยชอบด้วยกฏหมายไม่ได้


1.  ถ้าภัยอันตรายที่เราอ้างว่าใกล้จะถึงตัวได้ผ่านพ้นไปแล้ว  เราจะอ้างป้องกัน
ไม่ได้  เช่น  เราเห็นคนกำลังปีนรั้วเข้าบ้าน  เราจึงร้องเอะอะขึ้น  คนนั้นจึงรีบปีน
หนีไป  แต่เรายังใช้ปืนยิงเขาถึงตาย  อย่างนี้จะอ้างว่ายิงเขาตายเป็นการกระทำ
เพื่อป้องกันไม่ได้

2.  เราเป็นผู้ก่อเหตุขึ้นก่อนหรือเป็นผู้ที่ท้าทายผู้อื่นก่อน  เช่น  เราเป็นฝ่ายก่อเหตุ
ด่าเขาก่อน  เมื่อเขาจะเข้ามาทำร้าย  เราจึงทำร้ายเขานั้น จะอ้างว่าป้องกันตัวไม่ได้

3.  เราเป็นผู้สมัครใจเข้าต่อสู้  วิวาทกัน  ที่ไม่ใช่การโต้เถียงกัน  แต่ทั้งคู่กระทำโดย
ใช้กำลังเข้าชกต่อยหรือตบตีกัน  ย่อมถือว่าสมัครใจทะเลาะวิวาท  อ้างเหตุป้องกัน
ตัวไม่ได้

ตัวอย่างการป้องกันที่เกินสมควรแก่เหตุ
  เช่น  เด็กเข้ามาลักทรัพย์สินในบ้าน
เราโดยไม่มีอาวุธ  ขณะเด็กโผล่ขึ้นมาจากที่ซ่อนตัวใต้แคร่อันเป็นที่จำกัด  เราอาจ
ใช้วิธีอื่นในการสกัดจับเด็กหรือเรียกคนอื่นมาช่วยกันจับ  แต่เราถึงขั้นใช้อาวุธปืนยิง
จนเด็กเสียชีวิตหรือบาดเจ็บสาหัส  ย่อมเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ

การหย่า

 ๑. ผลของการหย่าโดยความยินยอม
           การหย่าโดยความยินยอมนั้น ถ้าการสมรสเป็นการสมรสที่ไม่ต้องจดทะเบียน (การสมรสตาม
กฎหมายลักษณะผัวเมีย) การหย่าโดยความยินยอมก็มีผลทันทีที่ทำเป็นหนังสือถูกต้อง และลงลายมือ
ชื่อทั้ง ๒ ฝ่าย พร้อมทั้งมีพยานรับรอง ๒ คน แต่ถ้าการสมรสนั้นเป็นการสมรสที่ต้องจดทะเบียน
(ตามบรรพ ๕) การหย่าโดยความยินยอมนั้นนอกจากจะต้องทำเป็นหนังสือแล้ว ยังต้องไปจดทะเบียนหย่า
ที่อำเภออีกด้วย การหย่าจึงจะมีผลตามกฎหมาย

           ๑.๑ ผลของการหย่าต่อบุตร คือ
               (๑) ใครจะเป็นผู้ปกครองบุตร ตามกฎหมาย ให้ตกลงกันเองได้ ถ้าตกลงกันไม่ได้ หรือ
ไม่ได้ตกลง ก็ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด
               (๒) ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ใครจะเป็นคนจ่ายก็เช่นกันคือให้ตกลงกันเองว่า ใครจะเป็นผู้จ่าย
ถ้าตกลงกันไม่ได้ ก็ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด

           ๑.๒ ผลเกี่ยวกับสามีภริยา ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาสิ้นสุดลงทันที และไม่มีหน้าที่ใด ๆ
ต่อกันเลย

           ๑.๓ ผลเกี่ยวกับทรัพย์สิน   ให้แบ่งทรัพย์สินอันเป็นสินสมรสระหว่างสามีภริยาคนละครึ่ง โดยเอาจำนวนทรัพย์ที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนหย่าเป็นเกณฑ์

           ๒. ผลของการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
           การหย่าโดยคำพิพากษาของศาลนั้นมีผลตั้งแต่เวลาที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด แม้จะยังไม่
จดทะเบียนหย่าก็ตาม ดังนั้น ความเป็นสามีภริยาจึงขาดลงตั้งแต่นั้นเป็นต้นไป
           ๒.๑ ผลเกี่ยวกับบุตร
                (๑) ใครเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ปกติแล้วฝ่ายชนะคดีจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง แต่
ศาลอาจกำหนดเป็นอย่างอื่นก็ได้
                (๒) เรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดู ศาลเป็นผู้กำหนด

           ๒.๒ ผลเกี่ยวกับคู่สมรส แม้กฎหมายจะถือว่า การสมรสสิ้นสุดลงนับแต่ ศาลมีคำพิพากษา
ถึงที่สุดก็ตาม แต่ในระหว่างคู่สมรสก็เกิดผลทางกฎหมายบางประการคือ
                (๑) มีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้
                           - ค่าทดแทนจากสามีที่อุปการะหญิงอื่นหรือจากภริยาที่มีชู้และ จากชายชู้หรือ
หรือหญิงอื่นแล้วแต่กรณี
                           - ค่าทดแทนเพราะเหตุหย่าตามข้อ ๓.๒ (๓), (๔), (๘) โดยเป็นเพราะความผิด
ของอีกฝ่ายหนึ่ง
                (๒) มีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพได้ ต้องเข้าหลักเกณฑ์คือ
                           - เหตุแห่งการหย่านั้นเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเพียงอย่างเดียว
                           - การหย่านั้นทำให้อีกฝ่ายยากจนลง เพราะไม่มีรายได้จากทรัพย์สิน หรือการงาน
ที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส แต่อย่างไรก็ตาม สิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพนี้กฎหมาย กำหนดว่า จะต้องฟ้องหรือ
ฟ้องแย้งมาในคดีที่ฟ้องหย่าด้วย มิฉะนั้นก็หมดสิทธิ