วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

การหย่า

 ๑. ผลของการหย่าโดยความยินยอม
           การหย่าโดยความยินยอมนั้น ถ้าการสมรสเป็นการสมรสที่ไม่ต้องจดทะเบียน (การสมรสตาม
กฎหมายลักษณะผัวเมีย) การหย่าโดยความยินยอมก็มีผลทันทีที่ทำเป็นหนังสือถูกต้อง และลงลายมือ
ชื่อทั้ง ๒ ฝ่าย พร้อมทั้งมีพยานรับรอง ๒ คน แต่ถ้าการสมรสนั้นเป็นการสมรสที่ต้องจดทะเบียน
(ตามบรรพ ๕) การหย่าโดยความยินยอมนั้นนอกจากจะต้องทำเป็นหนังสือแล้ว ยังต้องไปจดทะเบียนหย่า
ที่อำเภออีกด้วย การหย่าจึงจะมีผลตามกฎหมาย

           ๑.๑ ผลของการหย่าต่อบุตร คือ
               (๑) ใครจะเป็นผู้ปกครองบุตร ตามกฎหมาย ให้ตกลงกันเองได้ ถ้าตกลงกันไม่ได้ หรือ
ไม่ได้ตกลง ก็ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด
               (๒) ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ใครจะเป็นคนจ่ายก็เช่นกันคือให้ตกลงกันเองว่า ใครจะเป็นผู้จ่าย
ถ้าตกลงกันไม่ได้ ก็ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด

           ๑.๒ ผลเกี่ยวกับสามีภริยา ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาสิ้นสุดลงทันที และไม่มีหน้าที่ใด ๆ
ต่อกันเลย

           ๑.๓ ผลเกี่ยวกับทรัพย์สิน   ให้แบ่งทรัพย์สินอันเป็นสินสมรสระหว่างสามีภริยาคนละครึ่ง โดยเอาจำนวนทรัพย์ที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนหย่าเป็นเกณฑ์

           ๒. ผลของการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
           การหย่าโดยคำพิพากษาของศาลนั้นมีผลตั้งแต่เวลาที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด แม้จะยังไม่
จดทะเบียนหย่าก็ตาม ดังนั้น ความเป็นสามีภริยาจึงขาดลงตั้งแต่นั้นเป็นต้นไป
           ๒.๑ ผลเกี่ยวกับบุตร
                (๑) ใครเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ปกติแล้วฝ่ายชนะคดีจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง แต่
ศาลอาจกำหนดเป็นอย่างอื่นก็ได้
                (๒) เรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดู ศาลเป็นผู้กำหนด

           ๒.๒ ผลเกี่ยวกับคู่สมรส แม้กฎหมายจะถือว่า การสมรสสิ้นสุดลงนับแต่ ศาลมีคำพิพากษา
ถึงที่สุดก็ตาม แต่ในระหว่างคู่สมรสก็เกิดผลทางกฎหมายบางประการคือ
                (๑) มีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้
                           - ค่าทดแทนจากสามีที่อุปการะหญิงอื่นหรือจากภริยาที่มีชู้และ จากชายชู้หรือ
หรือหญิงอื่นแล้วแต่กรณี
                           - ค่าทดแทนเพราะเหตุหย่าตามข้อ ๓.๒ (๓), (๔), (๘) โดยเป็นเพราะความผิด
ของอีกฝ่ายหนึ่ง
                (๒) มีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพได้ ต้องเข้าหลักเกณฑ์คือ
                           - เหตุแห่งการหย่านั้นเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเพียงอย่างเดียว
                           - การหย่านั้นทำให้อีกฝ่ายยากจนลง เพราะไม่มีรายได้จากทรัพย์สิน หรือการงาน
ที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส แต่อย่างไรก็ตาม สิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพนี้กฎหมาย กำหนดว่า จะต้องฟ้องหรือ
ฟ้องแย้งมาในคดีที่ฟ้องหย่าด้วย มิฉะนั้นก็หมดสิทธิ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น